วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์วันต่อต้านยาเสพติดสากล

คำขวัญ "วันงดสูบบุหรี่โลก 2010"

ทุกคนก็คงจะรู้ถึงโทษของการสูบบุหรี่กันอยู่แล้วว่า มันส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราอย่างไร แต่หลายคนก็ยังเลือกที่จะสูบมัน บางคนเลือกที่จะสูบบุหรี่เพียงเพราะความเท่ห์จนในที่สุดก็ติดเป็นนิสัย และ เนื่องในวันที่ 31 พฤษภาคมของทุกปีนั้น เป็น วันงดสูบบุหรี่โลก

วันงดสูบบุหรี่โลก เริ่มมีการจัดงานครั้งแรกในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2531 เนื่องจากองค์การอนามัยโลกเล็งเห็นอันตรายของบุหรี่และสุขภาพของผู้สูบบุหรี่ รวมถึงผู้ที่ไม่สูบแต่ต้องมารับควันบุหรี่ด้วย จึงจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลก หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า World No Tobacco Day เพื่อกระตุ้นให้ผู้ที่สูบบุหรี่อยู่เลิกสูบ และให้รัฐบาลชุมชนและประชากรโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม อีกทั้งยังได้ประกาศให้มีการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ที่ใช้ชื่อว่า World Spidemic ซึ่งสื่อถึงการสูบบุหรี่ที่เป็นเหมือนโรคระบาดที่ระบาดอยู่ทั่วโลก โดยในวันงดสูบบุหรี่โลกในแต่ละปี ก็จะมีคำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกที่แตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้

คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกขององค์การอนามัยโลก
WORLD NO TOBACCO DAY

ปี พ.ศ.2531(1988) คำขวัญ
Between tobacco and the health , choose health "
บุหรี่หรือสุขภาพ ต้องเลือกสุขภาพ

2532(1989) Women and Tobacco : Added risk.
พิษของบุหรี่ต่อสตรี ยิ่งมีมากกว่าบุรุษ

2533 (1990) Growing up without tobacco.
เติบโตอย่างสดใส ห่างไกลจากภัยบุหรี่

2534 (1991) Public places and transport : Better be tobacco free.
สถานที่สาธารณะและยวดยานปลอดบุหรี่

2535 (1992) Tobacco free work places : Safer and healthier.
ที่ทำงานปลอดบุหรี่ สุขภาพดี ชีวีปลอดภัย

2536 (1993) Health services, our window to a tobacco – free world.
บุคลากรสาธารณสุขร่วมสร้างสรรค์สังคมปลอดบุหรี่

2537 (1994) The media against tobacco.
ทุกสื่อร่วมใจต้านภัยบุหรี่

2538 (1995) Tobacco costs more than you think.
บุหรี่ก่อความสูญเสียมากกว่าที่คุณคิด

2539 (1996) Sport and the arts : play it tobacco free.
ศิลปะและกีฬาไม่พึ่งพาบุหรี่

2540 (1997) United for a Tobacco – free world.
ผนึกกำลังเพื่อสังคมปลอดบุหรี่

2541 (1998) Growing up without tobacco.
คนรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่

2542 (1999) Leave the pack behind.
อนาคตมีคุณค่า เมื่อบอกลา...เลิกบุหรี่

2543 (2000) Tobacco kills don’t be Duped.
บุหรี่คร่าชีวิต อย่าหลงผิดตกเป็นเหยื่อ

2544 (2001) Second-Hand Smoke : Let’s Clear the Air.
เห็นใจคนรอบข้าง ร่วมสร้างอากาศสดใส ปลอดจากภัยควันบุหรี่

2545 (2002) Tobacco Free Sports – Play it clean.
กีฬาปลอดบุหรี่ ส่งผลดีต่อสุขภาพ

2546 (2003) Tobacco free films tobacco free fashion
ภาพยนตร์ปลอดบุหรี่ ส่งผลดีต่อเยาวชน

2547 (2004) Tobacco and Poverty (A Vicious Circle)
หรือ “บุหรี่ : ยิ่งสูบ...ยิ่งจน”
“ครอบครัวปลอดบุหรี่ จะมั่งมีและแข็งแรง

2548 (2005) Health Professionals and Tobacco Control
ทีมสุขภาพร่วมใจ ขจัดภัยบุหรี่”

2549 (2006) Tobacco: Deadly in any form or disguise
“บุหรี่ทุชนิดนำชีวิตสู่ความตาย”

2550 (2007) 100 % SMOKE-FREE ENVIRONMENTS :CREATE AND ENJOY
“ไร้ควันบุหรี่ สิ่งแวดล้อมดี ชีวีสดใส“

2551 (2008) Tobacco Free Youth
เยาวชนรุ่นใหม่ร่วมใจต้านภัยบุหรี่

2552 (2009) Tobacco Health Warnings
“บุหรี่มีพิษ ร่วมคิดเตือนภัย”

คำขวัญวัดงดสูบบุหรี่โลกสำหรับปี 2553 (2010) คือ Gender and tobacco with an emphasis on marketing to women “หญิงไทยฉลาด ไม่เป็นทาสตลาดบุหรี่”

ที่มา http://www.khanpak.com/variety/506

งานด้านป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดและเอดส์โรงเรียนขามสะแกแสง ได้จัดกิจกรรมตลอดสัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 21-25 มิถุนายน 2553 ณ หอประชุมโรงเรียนขามสะแกแสง

ท่านผู้อำนวยการ นายคำรณ ทศสิริวัฒน์ กล่าวชื่นชมและมอบรางวัล ให้แก่นักเรียน
บทความที่คัดลอกมา

ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า อีกปัญหาที่กำลังจับตาอย่างใกล้ชิด คือ การระบาดของบุหรี่เถื่อน เช่น บาระกู่ บุหรี่ชูรส บุหรี่ผลไม้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ไม่มีการปราบปรามอย่างจริงจัง

ในกรุงเทพฯ ผู้ค้าสามารถวางขายอุปกรณ์สูบบาระกู่ ได้อย่างไม่ผิดกฎหมาย ขณะที่ยาเส้นที่ใช้ในการสูบถูกห้ามนำเข้า เกิดความไม่สอดคล้องกัน เนื่องจากผู้เสพยังสามารถหาซื้ออุปกรณ์สูบได้ และการลักลอบหาซื้อยาเส้น ก็ไม่ใช่เรื่องยากกล่าวว่า ความไม่รู้ของผู้เสพในเรื่องบาระกู่ ยังทำให้เกิดการเสพติดได้ง่าย เนื่องจากผู้เสพคิดว่าไม่มีอันตราย เพราะบาระกู่ผสมกากผลไม้ และมีกลิ่นหอม อีกทั้งกระบวนการสูบต้องผ่านน้ำก่อน ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว สมุนไพรหรือผลไม้ที่ถูกเผา จะเกิดสารก่อมะเร็งขึ้น รวมทั้งระดับนิโคติน และก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ในยาเส้นเหล่านี้ ไม่ได้น้อยกว่าบุหรี่ทั่วไป และอาจมีมากกว่า

สำหรับสิ่งที่ร้ายกว่าบาระกู่ คือ พวกบุหรี่ชูรส และบุหรี่สมุนไพรนั้น ศ.นพ.ประกิต กล่าวว่า บุหรี่เหล่านี้คือยาเส้นที่ผสมกลิ่นผลไม้ ทำให้กลุ่มวัยรุ่นเข้าใจผิดว่าไม่มีอันตราย เนื่องจากมีรสชาติหวาน หอม ขณะที่ซองบุหรี่ กลิ่น และสี ถูกปรุงแต่งให้เหมือนผลไม้เมื่อสูบแล้วจึงติดได้ง่าย แต่บุหรี่เหล่านี้คือสิ่งผิดกฎหมาย หาซื้อยาก เมื่อเสพติดแล้ว แต่ไม่สามารถหาซื้อได้ ผู้เสพจึงเปลี่ยนมาสูบบุหรี่ธรรมดา ที่วางขายอย่างถูกกฎหมายแทน ทำให้เกิดการติดบุหรี่อย่างหนักไปโดยปริยาย กลุ่มนักวิจัยและนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องนี้ จึงเปรียบบุหรี่ชูรส และบุหรี่สมุนไพร เป็นเสมือน starter ที่นำไปสู่การติดบุหรี่ธรรมดา ในเวลาต่อมา

ปัจจุบัน ผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่มีทางเลือกหลายทาง นอกจากวิธีเดิมๆ ที่เคยใช้กันมา โดย ผศ.กรองจิต วาทีสาธกกิจ ที่ปรึกษามูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) พบว่า มีสารในวิตามินซี ที่ช่วยลดความอยากของนิโคตินได้ และช่วยฟื้นฟูร่างกายที่ทรุดโทรม ให้สดชื่น กระปรี้กระเปร่า จึงมีการนำมาใช้ช่วยเลิกบุหรี่ โดยเทคนิคการรับประทานผลไม้รสเปรี้ยว ที่มีวิตามินซีสูง โดยเฉพาะมะนาว เมื่อนำไปใช้แล้ว มีประสิทธิภาพได้ผลดีมาก เนื่องจากมะนาวมีผลต่อการทำงาน ของต่อมรับรสขม ทำให้รสชาติของบุหรี่เปลี่ยนไป

ส่วน วิธีกินมะนาวช่วยเลิกบุหรี่นั้น ผศ.กรองจิต กล่าวว่า ต้องหั่นมะนาวเป็นชิ้นเล็กๆ ให้มีเปลือกติดมาด้วย ขนาดเท่าหัวแม่มือ เมื่อมีความรู้สึกอยากสูบบุหรี่ ให้กินมะนาวแทน โดยอมแล้วค่อยดูดความเปรี้ยว จากนั้นเคี้ยวเปลือกช้าๆ นาน 3-5 นาที จะมีผลทำให้ลิ้นขม เฝื่อน จากนั้นดื่มน้ำ 1 ใน 4 แก้วนอกจากช่วยลดความอยากนิโคตินแล้ว เมื่อสูบบุหรี่จะทำให้รสชาติบุหรี่เปลี่ยนไป มีรสขมจนไม่อยากสูบ นอกจากนี้ ยังสามารถกินมะนาว หรือผลไม้ชนิดอื่น ที่มีความเปรี้ยวมากๆ ได้ทุกครั้ง ที่เกิดความอยากบุหรี่ แต่เมื่อเทียบกันแล้ว มะนาวจะได้ผลดีที่สุด

ผศ. กรองจิต กล่าวต่อว่า การเลิกบุหรี่ ด้วยการกินมะนาว ส่วนใหญ่จะสามารถเลิกบุหรี่ได้ ภายใน 2 สัปดาห์ และไม่อยากสูบอีก ถือว่าชนะนิโคตินได้ มีการนำไปทดลองกับนักเรียนหลายคน จะรู้สึกว่าสูบบุหรี่แล้วไม่อร่อย รสชาติไม่เหมือนเดิม ทำให้ไม่อยากสูบบุหรี่อีก อย่างไรก็ตาม แม้อาการทางกาย คือ ความอยากจะหมดไป แต่อาการทางใจบางครั้งจะยังมีอยู่ เช่น เศร้า หงุดหงิดเหมือนคนอกหัก คนรอบข้างต้องให้กำลังใจ และตั้งใจเลิกอย่างเด็ดขาด จะสามารถเลิกได้อย่างแน่นอน

ที่มา http://men.mthai.com/content/1285

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น